งานบริการของศูนย์บริการเภสัชกรรม
การศึกษาชีวประสิทธิผลของยา หรือการศึกษาความสามารถของยาที่สามารถเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต (systemic circulation)
การศึกษาชีวสมมูล เปรียบเทียบชีวประสิทธิผลระหว่างยาต้นแบบ (Reference product) และผลิตภัณฑ์ทดสอบ การศึกษานี้ใช้ในการพิจารณาความสมมูลของประสิทธิภาพในการรักษาของยา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาขึ้นทะเบียนตำรับยา นอกจากนั้นการศึกษาชีวสมมูลยังสามารถใช้ในการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นภายหลังที่ยาได้รับการขึ้นทะเบียน เช่น การเปลี่ยนแปลงสูตรตำรับ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต เป็นต้น
การศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ของยา เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของยาภายในร่างกายมนุษย์ ได้แก่ การดูดซึม (Absorption) การกระจายยา (Distribution) การแปรสภาพ (Metabolism) และ การกำจัดยา (Elimination) จากร่างกาย
การศึกษาคุณสมบัติพื้นฐานทางเภสัชกรรมของยา โดยใช้วิธีการทางกายภาพและทางเคมี เช่น การตรวจสอบเอกลักษณ์ของยา (Identification) การตรวจสอบปริมาณสารออกฤทธิ์ (Assay) การตรวจสอบการละลายของยา (Dissolution)