ความเป็นมา (Background)

ความเป็นมา

        ศูนย์นวัตกรรมสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มต้นมาจากการที่คณะเภสัชศาสตร์ ได้รับอนุมัติจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ใช้พื้นที่บริเวณด้านหลังแนวกำแพงดินโบราณ เนื้อที่ประมาณ 7 - 8 ไร่ เพื่อพัฒนาเป็นสวนสมุนไพร ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2528 โดยมีวัตถุประสงค์จะรวบรวมอนุรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพรไทย และพืชท้องถิ่นภาคเหนือ นำมาปลูกไว้เป็นแหล่งอ้างอิงทางพฤกษศาสตร์ สำหรับอาจารย์ นักศึกษา และผู้สนใจ ได้ใช้ศึกษาวิจัยค้นคว้า ปัจจุบันมีตัวอย่างพืชสมุนไพร ผักพื้นบ้าน และพืชท้องถิ่นรวมกว่า 537 ชนิด และยังคงดำเนินการรวบรวมพันธุ์พืชอย่างต่อเนื่อง

          ต่อมา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีการนำองค์ความรู้ด้านสมุนไพรมาพัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์พืชสมุนไพร เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยได้จ้างอาจารย์นักพฤกษศาสตร์ชาวต่างประเทศมาเป็นผู้วางระบบ และศึกษาวิจัยรวบรวมพันธุ์พืช มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมพืชสมุนไพรในเขตพื้นที่ภาคเหนือ และเป็นแหล่งอ้างอิงทางด้านพฤกษอนุกรมวิธานที่ถูกต้อง พันธุ์พืชที่เก็บสะสมไว้ในพิพิธภัณฑ์ขณะนี้มีรวมประมาณ 23,229 ตัวอย่าง จัดอยู่ใน 290 วงศ์ ส่วนใหญ่เป็นพืชในเขตภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง น่าน และแม่ฮ่องสอน เป็นต้น

          ในปี พ.ศ. 2542 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีการปรับปรุงห้องปฏิบัติการผลิตยาแผนโบราณให้เป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมายของสถานที่ผลิตยาแผนโบราณ และได้รับใบอนุญาตผลิตยาแผนโบราณ ในปี พ.ศ. 2544 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ และดำเนินการผลิต วิจัย พัฒนาสูตรตำรับยาแผนโบราณ ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานการผลิตที่ดี โดยอยู่ภายใต้การดูแลของภาควิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์

         เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2561 ศูนย์วิจัยสมุนไพรภาคเหนือ ได้รับการจัดตั้งเป็นศูนย์ที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชาในหน่วยงานของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์นวัตกรรมสมุนไพร โดยสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อดำเนินกิจกรรมด้านสมุนไพรให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศด้านสมุนไพรอย่างครบวงจร

Background

B.E.1985 The Faculty of Pharmacy was given permission by Chiang Mai University to use an 8 rai area behind the ancient clay wall to establish a medicinal plant garden.

B.E.1987 The Faculty hired a botanist to set up an indexing system and conduct research on collected plants to establish a medicinal plant museum.

B.E.1999 The production laboratory for traditional medicine was renovated to Good Manufacturing Practice (GMP) and was given permission for manufacturing.

B.E.2002 The Faculty proposed a project plan to establish the Medicinal Plant Northern Research Center for collecting information and specimens of local medicinal plants, systematically conducting research on northern Thai medicinal plants, conserving local knowledge and encourage its application to maximum use under operation of the Department of Pharmaceutical Sciences.

October 27, 2018 The Medicinal Plant Northern Research Center was established to be the same size as a department in the Faculty and the name was “Medicinal Plant Innovation Center (MPIC)” by the Chiang Mai University Council.