ทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัย

การสนับสนุนการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2566

ตามที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ดำเนินการโครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งบประมาณ 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาบัณฑิตศึกษาผ่านเกณฑ์เงื่อนไขภาษาต่างประเทศสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา ตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีรูปแบบการสนับสนุน ดังนี้การสนับสนุนการอบรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ1) การสนับสนุนนักศึกษาบัณฑิตศึกษา เพื่อเข้ารับการอบรมหลักสูตรจากศูนย์บริการวิชาการ มนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Humanities Academic Service Center: HAS Center) และมีสิทธิได้รับการสนับสนุน ไม่เกิน 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน) สำหรับนักศึกษา บัณฑิตศึกษาที่มีผลคะแนนสอบ CMU-eTEGS ดังนี้1.1) ผลคะแนนสอบ CMU-eTEGS ตั้งแต่ 30 คะแนน หรือ น้อยกว่า 40 คะแนน (สำหรับ หลักสูตรปกติ) และน้อยกว่า 45 คะแนน (สำหรับหลักสูตรปริญญาเอกและหลักสูตรนานาชาติ)1.2) ผลคะแนนสอบ CMU-eTEGS ตั้งแต่ 40 คะแนน หรือ น้อยกว่า 60 คะแนน (สำหรับ หลักสูตรปกติ) และน้อยกว่า 65 คะแนน (สำหรับหลักสูตรปริญญาเอกและหลักสูตรนานาชาติ) สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://w3.grad.cmu.ac.th/foreign-language-condition2) การสนับสนุนนักศึกษาบัณฑิตศึกษา เพื่อเข้ารับการอบรมหลักสูตรจากสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Language Institute: LICMU) และมีสิทธิได้รับการสนับสนุน ไม่เกิน 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน)3) การสนับสนุนนักศึกษาบัณฑิตศึกษา เพื่อเข้ารับการอบรมหลักสูตรจากสถาบันอื่นๆ และมีสิทธิได้รับการสนับสนุน ไม่เกิน 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน) (ที่สามารถผ่านเงื่อนไขตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง เงื่อนไขภาษาต่างประเทศสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา)  

ทุน CMU Presidential Scholarship ปีการศึกษา 2567

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดสรรทุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาแบบเต็มจำนวน (full scholarship) เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัยทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีศักยภาพและความสามารถสูงได้ มีโอกาสเข้ามาศึกษาและทำวิจัย ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยในปีการศึกษา 2567 ได้จัดสรรทั้งหมดจำนวน 200 ทุน แบ่งเป็น ทุนระดับปริญญาเอก 100 ทุน ทุนระดับปริญญาโท 100 ทุน     ทุนดังกล่าวจะเปิดรับสมัคร 2 รอบปกติ ตามการเปิดรับสมัครเข้าศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1 ปี การศึกษา 2567 ทั้งนี้ หากผู้สมัครสนใจสมัครเข้าศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2567 จะต้องสมัคร ขอรับทุนไว้ก่อน โดยติดต่อประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรที่จะเข้าศึกษาโดยตรง เพื่อดำเนินการหา หัวข้องานวิจัย และหาอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ สำหรับยื่นขอรับทุนล่วงหน้า      Chiang Mai University (CMU) is offering the CMU Presidential Scholarship (Active Recruitment) with the purpose of supporting the department to select potential candidates to become students who meet the goals and needs of the department and to create a network of academic cooperation both domestically and internationally. A total of 6 0 scholarships are allocated, divided into 40 scholarships for doctoral degrees, 20 scholarships for master's degrees, and the proportion of students who receive active scholarships must be foreign students of not less than 40 scholarships, in order to comply with the curriculum development strategy to motivate the development of new courses that is in demand in the market, modern, can be adjusted quickly including the preparation of courses in the form of Active MOUs, these developments will lead to an increase in the number of graduate students and producing research that can be published in higher quality journals. Active recruitment of the CMU Presidential Scholarship can support that strategy. It is a tool that will help stimulate curriculum development in accordance with the established strategy. 

ประกาศให้ทุน TA/RA และ TA/RA แบบ Active Recruitment ปีการศึกษา 2567 สำหรับนักศึกษาใหม่ (รหัส 67...)

ด้วย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดสรรงบประมาณสำหรับเป็นทุนอุดหนุนการศึกษาแก่ผู้ที่จะเข้ามาศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา คือ ทุน TA/RA และ TA/RA แบบ Active Recruitment ปีการศึกษา 2567 สำหรับนักศึกษาใหม่ (รหัส 67...) เพื่อจูงใจให้นักศึกษาที่มีศักยภาพและมี ผลการเรียนดี มาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยสอน (TA:- Teaching Assistant) หรือผู้ช่วยวิจัย (RA:- Research Assistant) เพื่อแบ่งเบาภาระงานของอาจารย์ สาขาวิชา หรือคณะ และพัฒนาความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ สร้างประสบการณ์ในการเป็นผู้สอนหรือผู้วิจัย