Learning Media

การตรวจสอบสารพฤกษเคมีเบื้องต้น (Phytochemical Screening)

เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบสารเคมีในพืชนั้น ๆ โดยอาจพบสารออกฤทธิ์ (Active Constituents) ที่มีผลต่อการบำบัดรักษาโรคผู้ที่สนใจสามารถศึกษาวิธีการตรวจสอบสารสำคัญเบื้องต้นได้ดังสื่อวิดีทัศน์ด้านล่าง👉🏼 ฟีนอลิก (Phenolic) 🎥👉🏼 เทอร์ปินอยด์ (Terpenoids) 🎥

Video

พฤกษพันธุ์ไม้เด่นประจำเดือนเมษายน “ดอกซอมพอหลวง”

งานพิพิธภัณฑ์สมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอแนะนำพฤกษพันธุ์ไม้เด่นประจำเดือนเมษายน “ดอกซอมพอหลวง” หรือก็คือ ดอกหางนกยูงฝรั่ง ที่ในช่วงฤดูร้อนจะเริ่มผลิใบออกดอกไปจนถึงต้นฤดูฝน ขอเชิญทุกท่านมาทำความรู้จักดอกไม้สีสันสดใส ที่นอกจากจะสวยงามแล้วยังสามารถเอามาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมากมาย 📝 ขอบพระคุณข้อมูลน่ารู้จากคุณวรรณนรี เจริญทรัพย์ นักวิทยาศาสตร์/นักพฤกษศาสตร์ งานพิพิธภัณฑ์สมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Infographic

พฤกษพันธุ์ไม้เด่นประจำเดือนมีนาคม “Golden Trumpet Tree”

ในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นเดือนที่ดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีมีน กลุ่มดาวรูปปลาคู่ หรือ March เดือนแห่งเทพเจ้ามาร์ เทพแห่งสงคราม เรามักจะสังเกตเห็นแต่ดอกไม้สีเหลืองอร่ามเต็มไปหมดตามถนนหนทาง สวนสาธารณะ หรือแม้กระทั่งบริเวณลานจอดรถ แต่ทุกคนทราบกันหรือไม่ว่าดอกไม้สีเหลืองชนิดนั้นคือดอกอะไร?งานพิพิธภัณฑ์สมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอแนะนำพฤกษพันธุ์ไม้เด่นประจำเดือนมีนาคม “Golden Trumpet Tree” ดอกไม้สีเหลืองรูปทรัมเป็ต สัญลักษณ์ที่แสดงถึงการเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน ซึ่งมองเผินๆ หรือหากเจอต่างสถานที่ อาจจะคิดว่าเป็นดอกไม้ชนิดเดียวกัน แต่จริงๆ แล้วในประเทศไทยจะพบได้ถึง 3 ชนิด ซึ่งมีชื่อเรียกและเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป ขอเชิญทุกท่านมาทำความรู้จัก “ดอกไม้สีเหลือง” ตามภาพได้เลย 📝 ขอบพระคุณข้อมูลน่ารู้จากคุณวรรณนรี เจริญทรัพย์ นักวิทยาศาสตร์/นักพฤกษศาสตร์ งานพิพิธภัณฑ์สมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Infographic

การสกัดและการควบคุมคุณภาพสมุนไพร (Extraction and Quality Control of Herbal)

ปัจจุบันประเทศไทยมีแนวโน้มการใช้ยาสมุนไพรอย่างแพร่หลาย และรัฐบาลยังได้สนับสนุนการใช้ยาสมุนไพรในระบบบริการสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้น การควบคุมคุณภาพวัตถุดิบสมุนไพรจึงเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคในการเลือกใช้ยาสมุนไพร โดยช่วยในการตรวจสอบหาการปนเปื้อน ปนปลอมรวมไปถึงสมุนไพรที่ไม่ได้มาตรฐาน ที่อาจทำให้ได้สมุนไพรที่ด้อยคุณภาพและทำให้ทราบความชื้นในตัวอย่างสมุนไพรเนื่องจากความสูงที่มากเกินค่ามาตรฐานอาจส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อราและเกิดสารก่อมะเร็งอะฟลาท็อกซินอีกด้วย นอกจากนั้นยังทำให้ทราบถึงคุณภาพทางเคมี-กายภาพ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการออกฤทธิ์ทางยาวิธีการสกัดและการควบคุมคุณภาพสมุนไพร มีหลากหลายรูปแบบ โดยสามารถศึกษาวิธีการเบื้องต้นได้ดังสื่อวิดีทัศน์ด้านล่าง👉🏼 การสกัดแบบต่อเนื่อง (Continuous Extraction) 🎥👉🏼 วิธีการกลั่นด้วยน้ำ (Hydrodistillation) 🎥👉🏼 การประเมินคุณภาพสมุนไพร (Azeotropic Distillation) 🎥👉🏼 การหาปริมาณสิ่งสกัด (Extractive Value) 🎥👉🏼 การหาปริมาณน้ำหนักที่หายไปเมื่อทำให้แห้ง (Loss On Drying) 🎥👉🏼 การหาปริมาณเถ้ารวมและเถ้าไม่ละลายในกรด (Total Ash and Acid Insoluble Ash) 🎥👉🏼 การวัดปริมาณน้ำมันหอมระเหย (Volatile Oil Content) 🎥👉🏼 โครมาโทกราฟีแบบผิวบาง (Thin Layer Chromatography) 🎥

Video Infographic