หลักสูตรระยะสั้นสาขาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม

เภสัชกรรมสมุนไพร (Herbal Pharmacy)

หลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีคุณภาพ โดยผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนา โดยผู้ที่ผ่านการอบรมจะได้เรียนรู้และเข้าใจแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ตั้งแต่การควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ สารสกัดและผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น  การแยกเตรียมสารสกัด การทดสอบประสิทธิผลของสารสกัด การออกแบบรูปแบบและการตั้งตำรับของผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้วยเทคโนโลยีทางเภสัชกรรมที่ทันสมัยและเหมาะสมต่อการนำส่งสารสำคัญ การทดสอบความคงตัว และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีคุณภาพและมีประสิทธิผล ที่สามารถนำไปสู่การขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและขยายการผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้ต่อไปหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรของวิทยาลัยเภสัชกรรมสมุนไพร (วภส.) สภาเภสัชกรรม มีระยะเวลาการอบรมรวม 510 ชั่วโมง (18 สัปดาห์) โดยแบ่งเป็นการอบรมภาคทฤษฎีจำนวน 30 ชั่วโมง (2 สัปดาห์) และภาคปฏิบัติ 480 ชั่วโมง (16 สัปดาห์) ช่วงวัน-เวลาของการรับสมัครเปิดรับสมัคร วันที่ 11 มีนาคม 2567 เวลา 08.30 น.ปิดรับสมัคร วันที่ 19 เมษายน 2567 เวลา 16.30 น.ช่วงวัน-เวลาของการชำระค่าธรรมเนียมในการอบรมตั้งแต่วันที่ทำการสมัคร ถึง วันที่ 19 เมษายน 2567  เวลา 16.30 น.ช่องทางในการติดต่อสอบถามชื่อ-สกุล นางสาวอรดา บุญพงษ์ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานหลักสูตรเบอร์โทร 053-944374อีเมล orada.b@cmu.ac.th

วิทยาศาสตร์ขั้นสูงในการดูแลผิวพรรณและสุขภาวะผิว รุ่นที่ 2

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี งานวิจัย นวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อดูแลสุขภาพผิว เสริมสร้างสุขภาพผิวและแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผิวในเชิงลึกในระดับชีวโมเลกุล และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเวชสำอางที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยหลักสูตรอบรมนี้แบ่งเนื้อหาการเรียนรู้ออกเป็น 2 กระบวนวิชา จำนวน 3 หน่วยกิต จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้รวมบรรยาย 45 ชั่วโมง - กระบวนวิชาที่ 1 วิทยาศาสตร์ขั้นสูงในการดูแลผิวพรรณ (2 หน่วยกิต)  ผู้เรียนสามารถเทียบโอนหน่วยกิตกระบวนวิชา 463704 – วิทยาศาสตร์ขั้นสูงในการดูแลผิวพรรณ (Advanced Skin Care Science)   หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง- กระบวนวิชาที่ 2 องค์ประกอบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเวชสำอาง (1 หน่วยกิต)            ผู้เรียนสามารถเทียบโอนหน่วยกิตกระบวนวิชา 463705 – องค์ประกอบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเวชสำอาง (Cosmetic and Cosmeceutical Product Compositions) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางเมื่อผ่านหลักสูตรอบรม ผู้เรียนจะสามารถของรับรองสมรรถนะและ/หรือสามารถเก็บสะสมหน่วยกิตเพื่อใช้ประกอบการเรียนในอนาคตได้  โดยผู้เรียนจะต้องสอบผ่านทุกเกณฑ์ขั้นต่ำ (เกรด C) ของทุกกระบวนวิชาเพื่อที่จะได้รับสมรรรถนะช่องทางในการติดต่อสอบถาม คุณกรรณิการ์ พงศ์นฤมิตรkannikar.p@cmu.ac.th053-944380

วิทยาศาสตร์แห่งความงามและผลิตภัณฑ์สปา รุ่นที่ 2

หลักสูตรนี้เป็นการมุ่งเน้นส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานของการแต่งหน้าและผลิตภัณฑ์สปา ได้แก่ ประวัติความเป็นมาของการแต่งหน้า ทฤษฎีสี การเล่นสีสัน และการประยุกต์ใช้ในการแต่งหน้า รวมทั้งโครงสร้างของใบหน้าและดวงตาที่เกี่ยวข้องกับการแต่งหน้าเพื่อความงาม การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว และอุปกรณ์การแต่งหน้าและเทคนิคสำคัญสำหรับการแต่งหน้าขั้นพื้นฐาน รวมถึงหลักการของสุคนธบำบัด น้ำมันหอมระเหยที่ใช้ในสุคนธบำบัด กลไกการออกฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหย ความปลอดภัยในการใช้น้ำมันหอมระเหย วิธีการใช้ผลิตภัณฑ์สุคนธบำบัด การพัฒนาผลิตภัณฑ์สุคนธบำบัด สปาและผลิตภัณฑ์สปา เทคโนโลยีใหม่ในการใช้น้ำมันหอมระเหยหลักสูตรอบรมนี้แบ่งเนื้อหาการเรียนรู้ออกเป็น 2 กระบวนวิชา จำนวน 6 หน่วยกิต จำนวนชั่วโมง การเรียนรู้รวม 150 ชั่วโมง (บรรยาย 60 ชั่วโมง ปฏิบัติการ 90 ชั่วโมง) ▪ กระบวนวิชาที่ 1 เครื่องสำอางสำหรับตกแต่งและเทคนิคการแต่งหน้า (3 หน่วยกิต) ผู้เรียนสามารถเทียบโอนหน่วยกิตกระบวนวิชา 463736 เครื่องสำอางสำหรับตกแต่งและเทคนิคการ แต่งหน้า (Decorative Cosmetics and Facial Makeup Techniques) หลักสูตรวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ▪ กระบวนวิชาที่ 2 สุคนธบำบัดและผลิตภัณฑ์สปา (3 หน่วยกิต) ผู้เรียนสามารถเทียบโอนหน่วยกิตกระบวนวิชา 463733 สุคนธบำบัดและผลิตภัณฑ์สปา (Aromatherapy and Spa Product)หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เครื่องสำอาง             เมื่อผ่านหลักสูตรอบรม ผู้เรียนจะสามารถของรับรองสมรรถนะและ/หรือสามารถเก็บสะสมหน่วยกิตเพื่อใช้ประกอบการเรียนในอนาคตได้  โดยผู้เรียนจะต้องสอบผ่านทุกเกณฑ์ขั้นต่ำ (เกรด C) ของทุกกระบวนวิชาเพื่อที่จะได้รับสมรรรถนะช่องทางในการติดต่อสอบถาม คุณกรรณิการ์ พงศ์นฤมิตรkannikar.p@cmu.ac.th053-944380

เทคโนโลยีขั้นสูงเกี่ยวกับเครื่องสำอางและงานขึ้นทะเบียนที่เกี่ยวข้อง รุ่นที่ 2

หลักสูตรนี้ เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจ โดยมุ่งเน้นและส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเวชสำอางด้วยขั้นตอนและวิธีการที่ถูกต้อง เป็นไปตามข้อกำหนด/มาตรฐาน ซี่งส่งผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ สามารถพัฒนาตำรับและการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง/เวชสำอางรูปแบบต่าง ๆ มีทักษะกระบวนการเพื่อศึกษาก่อนตั้งตำรับ มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบพื้นฐานในตำรับ การทดสอบทางกายภาพ เคมีกายภาพ และความคงสภาพของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยแก่ผู้บริโภค นอกจากนี้ผู้เรียนจะสามารถดำเนินการพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์ภายใต้จรรยาบรรณและจริยธรรมการประกอบธุรกิจเครื่องสำอาง พระราชบัญญัติเครื่องสำอางและพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค มาตรฐานเครื่องสำอางระหว่างประเทศ รวมถึงกฎหมายและระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเครื่องสำอาง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการประกันคุณภาพการผลิต และการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอย่างถูกต้อง ซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวกล่าวข้างต้นจะช่วยส่งเสริมให้สามารถเป็นผู้ผลิต พัฒนา และเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพหลักสูตรอบรมนี้แบ่งเนื้อหาการเรียนรู้ออกเป็น 3 กระบวนวิชา จำนวน 7 หน่วยกิต จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้รวม 159 ชั่วโมง (บรรยาย 75 ชั่วโมง ปฏิบัติการ  84 ชั่วโมง) - กระบวนวิชาที่ 1 ประมวลวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเวชสำอาง (3 หน่วยกิต)       ผู้เรียนสามารถเทียบโอนหน่วยกิตกระบวนวิชา 463701 – การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและ     เวชสำอาง (Cosmetic and Cosmeceutical Products Development) หลักสูตรวิทยาศาสตร   มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง- กระบวนวิชาที่ 2 การควบคุมคุณภาพ และการประเมินผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเวชสำอาง         (3 หน่วยกิต) ผู้เรียนสามารถเทียบโอนหน่วยกิตกระบวนวิชา 463702 – การควบคุมคุณภาพ และการประเมิน          ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเวชสำอาง (Quality Control and Evaluation of Cosmetic and          Cosmeceutical  Products) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์          เครื่องสำอาง- กระบวนวิชาที่ 3 กฎหมาย การขึ้นทะเบียน และการประกันคุณภาพเครื่องสำอาง (1 หน่วยกิต) ผู้เรียนสามารถเทียบโอนหน่วยกิตกระบวนวิชา 463706– กฎหมาย การขึ้นทะเบียน และการ         ประกันคุณภาพเครื่องสำอาง (Laws, Registration and Quality Assurance in Cosmetics)          หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง             เมื่อผ่านหลักสูตรอบรม ผู้เรียนจะสามารถของรับรองสมรรถนะและ/หรือสามารถเก็บสะสมหน่วยกิตเพื่อใช้ประกอบการเรียนในอนาคตได้  โดยผู้เรียนจะต้องสอบผ่านทุกเกณฑ์ขั้นต่ำ (เกรด C) ของทุกกระบวนวิชาเพื่อที่จะได้รับสมรรรถนะช่องทางในการติดต่อสอบถาม คุณกรรณิการ์ พงศ์นฤมิตรkannikar.p@cmu.ac.th053-944380